ชุมชนดารีซีน แขวงบางมด เขต ทุ่งครุ จังหวัด กรุงเทพมหานคร.
1.ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
1.1ประวัติความเป็นมาของชุมชน
    ที่มาของชื่อชุมชนบ้าน/ชุมชนดารีซีน เป็นชุมชนของพี่น้องมุสลิม ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือ
ศาสนาอิสลาม โดยเป็นพี่น้องที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานจากหลายๆ จังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ทางภาคใต้ ได้แก่
สตูล นครศรีธรรมราช สงขลา พังงา ภูเก็ต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุบลราชธานี นครราชสีมา
บุรีรัมย์ และในบริเวณเขตกรุงเทพมหานคร ชุมชมชนแห่งนี้เป็นชุมชนตั้งใหม่ มีผู้เข้ามาอยู่อาศัยเริ่มแรก
ประมาณ ปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นที่วากั๊ฟของมูลนิธิซาฟิอี มาเรียม เปิดให้เช่าเป็นตารางวา โดยแต่ละ
ครอบครัวจะได้เช่าที่ไม่เกิน ครอบครัวละ 25 ตารางวา โดยมีสัญญาเช่าทุกๆ 3 ปี หากครอบครัวใดทำผิด
กฎที่ทางมูลนิธิได้ตกลงไว้ เช่นมีเหตุทะเลาะวิวาท ยาเสพติด การพนัน ทางมูลนิธิมีสิทธิ์ที่จะสั่งย้าย
ครอบครัวนั้นภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนราคาค่าเช่าที่ดินนั้น 150 บาท/เดือน/ 25 ตารางวา ชุมชนแห่งนี้เริ่มเข้า
มาตั้งที่อยู่อาศัยพร้อมกันเมื่อเปิดให้เช่าที่ดิน และสร้างเสร็จภายใน 6 เดือนพร้อมกัน ปัจจุบันมีผู้ย้ายเข้ามา
สร้างที่อยู่อาศัยบ้างเล็กน้อย โดยรวมชุมชนนี้มีพื้นที่ทั้งสิ้น 5 ไร่ อีกทั้งชุมชนยังถูกยกระดับให้เป็นชุมชน
ทางการ ในปี พ.ศ. 2541 โดยให้ชื่อว่า “ชุมชนดารีซีน” ที่แปลว่า “ผู้ใฝ่การศึกษา”

    ชุมชนดารีซีน ยังคงมีระบบความสัมพันธ์เป็นแบบพี่น้อง แม้ว่าจะมาจากคนละแห่งแต่เนื่องจากเป็น
พี่น้องมุสลิมเกือบทั้งหมด และเป็นผู้ที่มีฐานะเป็นผู้เช่าที่ดินเหมือนกันจึงทำให้การดูแลปกครองกันง่าย ใน
ชุมชนยังมีระบบของการแจกจ่ายอาหารระหว่างกันโดยเฉพาะในวันสำคัญทางศาสนา

    ระบบการศึกษาของชุมชนดารีซีน เด็กและเยาวชนจะเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาตั้งแต่เวลา 07.00
– 08.00 น. หลังจากนั้นก็จะเดินไปเรียนหนังสือสายสามัญจนถึง เวลาประมาณ 16.00 น. แล้วจะกลับมาเรียน
อ่านอาหรับในตอนเย็นของทุกวัน

    การประกอบอาชีพของคนส่วนใหญ่ในชุมชน เป็นอาชีพ ค้าขาย รับจ้าง ทั้งนี้อาชีพข้าราชการมี
ส่วนน้อยเท่านั้น

    ชุมชนดารีซีนประกอบด้วยคณะกรรมการชุมชนทั้งสิ้น 8 คน อสส. 2 คน ชุมชนแห่งนี้ได้รับ
รางวัลชุมชนปลอดยาเสพติดในปี พ.ศ. 2542 นอกจากนั้นได้รับเลือกให้เป็นชุมชนน่าอยู่ของการเคหะ
แห่งชาติ และชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลายของศูนย์สาธารณสุขที่ 59

1.2 สภาพปัจจุบัน ประชากรทั้งหมด 255 คน ชาย 126 คน หญิง 129 คน
ในหมู่บ้าน/ชุมชนมีครัวเรือน156 ครอบครัว มีบ้าน 76 หลังคาเรือน (ข้อมูลจากข้อมูลชุมชน
แขวงบางมด สำนักงานเขตทุ่งครุ)

1.3วัฒนธรรมประเพณีของชาวมุสลิม ทั้งหมดจะเป็นไปตามหลักของศาสนาอิสลามที่ยังคงยึดถือ
เป็นหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติของพี่น้องมุสลิมตลอดมา ซึ่งสามารถแจกแจงวันสำคัญต่างๆที่มีกิจกรรม
ทางศาสนา ในรอบ 1 ปีได้ดังนี้คือ
    1) งานวันเมาลิด ความสำคัญของวันนี้คือ เป็นวันที่พี่น้องมุสลิมจะทำการสรรเสริญให้กับวันคล้าย
วันเกิดของท่านนบีมูฮัมหมัด (ศาสดาองค์สุดท้าย) ซึ่งทุกมัสยิดหรือชุมชนมุสลิมทุกชุมชนจะต้องจัด 1 ครั้ง
ต่อปี
    2) งานอิซิกุโบร์ เป็นงานทำบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีการอ่านอัลกุรอ่านและการละหมาด
ให้กับที่ตายไปแล้ว ซึ่งจะจัดทุกวันพฤหัสบดี ต้นเดือนของทุกเดือน
    3) การถือศีลอดในเดือนร็อมฏอล ของทุกปี
    4) วันตรุษฯ หรือวันฮารีรายอ ซึ่งจะจัด 2 ครั้ง คือหลังจากการถือศีลอดและหลังจากการทำฮัจห์
โครงสร้างพื้นฐานชุมชน
เริ่มเข้าไปพัฒนาเมื่อปี พ.ศ.2540 ภายหลังจากการตั้งชุมชนได้มีโครงสร้างพื้นฐานเข้ามา คือ ไฟฟ้า
น้ำประปา และสะพานเดินเท้ารอบชุมชน นอกจากนั้นชุมชนแห่งนี้ยังมีลานกีฬาชุมชนซึ่งเป็นที่ออกกำลัง
กายของคนในชุมชน
1.4 ปัญหาสำคัญภายในชุมชน คือปัญหาเยาวชน เรื่องของการติดเกมส์ของเยาวชนในพื้นที่ ทาง
คณะกรรมการได้ให้ความสำคัญกับการวางแนวทางป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อเด็กติดเกมส์แล้ว
จะก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมายเช่นปัญหายาเสพติด การลักขโมย หนีเรียน เป็นต้น
1.5 การทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน
    1) การทำงานร่วมกับสำนักงานเขตทุ่งครุ ในการดำเนินงานต่างๆของชุมชน
    2) การทำงานร่วมกับสาธารณสุข ในเรื่องสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน
    3) การทำงานร่วมกับมูลนิธิซาฟิอี มาเรียม ในเรื่องการดูแลคนในชุมชนและกิจกรรมต่างๆ
ของชุมชน เช่น การดูแลผู้ยากไร้ เด็กกำพร้าในชุมชน
1.6 แผนที่ชุมชน

1.7 สภาพแวดล้อมชุมชน

2. ข้อมูลแบบสัมภาษณ์คณะกรรมการชุมชน
ชื่อชุมชน ดารีซีน
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ นางวิไลลักษณ์ วงศ์อุไร ตำแหน่ง/หน้าที่ เหรัญญิก และอสส.
    1. ที่ตั้งของชุมชน ซอยประชาอุทิศ 69
    2. อาณาเขตติดต่อ
      - ทิศเหนือติดกับ ชุมชนสามัคคี
      - ทิศตะวันออกติดกับ พื้นที่ว่าง
      - ทิศใต้ติดกับ พื้นที่ว่าง, ท้องร่อง
      - ทิศตะวันตกติดกับ ชุมชนชมทรัพย์
    3. คณะกรรมการชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาหรือการปกครองชุมชนอย่างไรบ้าง
      3.1 บริหารชุมชนโดยการประชุม วางแผน ประสานงานร่วมกับสำนักงานเขตทุ่งครุ
      3.2 เฝ้าระวังชุมชนจากยาเสพย์ตัดและสิ่งอบายมุขโดยการอยู่เวรยามในเวลากลางคืน
      3.3 ส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กยากไร้
    4. ภายในชุมชนมีสถานที่สำคัญอะไรบ้างและมีความเป็นมาอย่างไร
      4.1 บาแล (สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา) เนื่องจากชุมชนเป็นพื้นที่ให้เช่าของ
มูลนิธิซาฟิอีเพื่อให้พี่น้องมุสลิมได้มีที่อยู่อาศัย นอกจากจะให้เช่าพื้นที่อยู่อาศัยแล้วเจ้าของมูลนิธิซาฟิอี ยัง
สร้างบาแลขึ้นให้สมาชิกในชุมชนใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามด้วย
      4.2 ลานกีฬา เป็นที่ออกกำลังกายของคนในชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเขต
ทุ่งครุ
      4.3 ศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นสถานที่ในการบริการด้านการสาธารณสุขของชุมชน สังกัด
ศูนย์สาธารณสุขที่ 59 ทุ่งครุ โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขของชุมชนคอยให้บริการทั้งหมด 4 คน
    5. ชุมชนมีกฎระเบียบหรือข้อบังคับในการอยู่ร่วมกันภายในชุมชนอย่างไรบ้าง
ชุมชนมีกฎข้อบังคับในการอยู่ร่วมกันทั้งหมด 16 ข้อซึ่งตั้งขึ้นโดยมูลนิธิซาฟิอี เพื่อให้
สมาชิกในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้แนวทางตามหลักศาสนาเดียวกัน คือศาสนาอิสลาม
เช่น ข้อห้ามเกี่ยวกับยาเสพย์ติด การพนัน ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน เป็นต้น กฎทั้ง 16 ข้อ ดังกล่าวถ้าหากใครฝ่า
ฝืนสามารถโดนไล่ออกจากชุมชนได้ทันที นอกจากกฎ 16 ข้อของมูลนิธิซาฟิอีแล้ว ชุมชนยังมีกฏที่ตั้งขึ้น
ระหว่างสมาชิกด้วยกันเองตามสถานการณ์ต่างๆ ด้วย เช่น กฎในการเข้าเวรยามเฝ้าระวังชุมชนร่วมกัน
เป็นต้น
    6. ชุมชนมีนโยบายหรือแผนในการพัฒนาชุมชนอย่างไรบ้าง
การจัดทำแผนแม่บทชุมชน โดยแบ่งออกเป็นด้านใหญ่ ๆ ได้แก่
      - ด้านสถานที่ การจัดทำสถานที่สำหรับประกอบอาชีพเสริมของกลุ่มแม่บ้าน
      - ด้านสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังความสะอาดรอบๆชุมชนร่วมกัน
      - ด้านศาสนา การสอนศาสนาให้แก่เด็ก เยาวชนในชุมชนนอกเหนือจากโรงเรียนสายสามัญ และ
จัดสร้างห้องสมุดของชุมชน
    7. ในชุมชนมีปัญหาอะไรบ้าง
      - ปัญหาด้านสังคม
        มาก มีปัญหาอะไรบ้าง - ไม่มี
        ปานกลาง มีปัญหาอะไรบ้าง - ไม่มี
        น้อย มีปัญหาอะไรบ้าง ยาเสพย์ติด วิ่งราว ความขัดแย้งในชุมชน
      - ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
        มาก มีปัญหาอะไรบ้าง รายได้น้อย
        ปานกลาง มีปัญหาอะไรบ้าง ตลาด การรวมกลุ่มอาชีพ ขาดแหล่งทุนประกอบ
อาชีพ
        น้อย มีปัญหาอะไรบ้าง ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพใหม่ๆ และพัฒนาฝีมือ/
ผลิตภัณฑ์ หนี้ในระบบ/นอกระบบ ว่างงาน
      - ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
        มาก มีปัญหาอะไรบ้าง ผิวจราจรแตกชำรุด และหนาแน่นเดินทางไม่สะดวก, มัก
เกิดอุบัติเหตุบ่อย
        ปานกลาง มีปัญหาอะไรบ้าง -
        น้อย มีปัญหาอะไรบ้าง อุปกรณ์ไปฟ้าชำรุด ไม่ได้ซ่อมแซม
      - ปัญหาด้านสารธารณสุข
        มาก มีปัญหาอะไรบ้าง -
        ปานกลาง มีปัญหาอะไรบ้าง ติดบุหรี่
        น้อย มีปัญหาอะไรบ้าง จราจรบนท้องถนน การระบาดของสัตว์นำโรค สถานที่
ออกกำลังกาย
      - ปัญหาด้านการศึกษา
        มาก มีปัญหาอะไรบ้าง -
        ปานกลาง มีปัญหาอะไรบ้าง ครูผู้สอนไม่เพียงพอ
        น้อย มีปัญหาอะไรบ้าง -
      - ปัญหาด้านศาสนา
        มาก มีปัญหาอะไรบ้าง -
        ปานกลาง มีปัญหาอะไรบ้าง ขาดการอุปถัมภ์และเครือข่ายด้านศาสนา การ
บูรณศาสนสถาน
        น้อย มีปัญหาอะไรบ้าง การกำหนดบทบาทหน้าที่ของกรรมการศาสนา
      - ปัญหาด้านประเพณีและวัฒนธรรม
        มาก มีปัญหาอะไรบ้าง -
        ปานกลาง มีปัญหาอะไรบ้าง -
        น้อย มีปัญหาอะไรบ้าง -
      - ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        มาก มีปัญหาอะไรบ้าง -
        ปานกลาง มีปัญหาอะไรบ้าง-
        น้อย มีปัญหาอะไรบ้าง น้ำเน่า ขยะมูลฝอย
      - ปัญหาด้านการเมืองการบริหาร
        มาก มีปัญหาอะไรบ้าง -
        ปานกลาง มีปัญหาอะไรบ้าง -
        น้อย มีปัญหาอะไรบ้าง -
    8. จงเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาที่ชุมชนต้องแก้ไขเร่งด่วนมากที่สุด เพราะอะไร
      8.1 เส้นทางการจราจร เพราะชุมชนค่อนข้างคับแคบ ทางเข้าและภายในบริเวณชุมชนเป็น
ทางคอนกรีตเสริมเหล็กกว่างแค่ 1 เมตร การเดินทางยากลำบาก เมื่อเกิดอัคคีภัยแล้วจะป้องกันแก้ไขลำบาก
รถดับเพลิงเข้าไม่ถึงก่อให้เกิดความเสียหายมาก
      8.2 ยาเสพย์ติด เพราะชุมชนเป็นชุมชนในเขตเมือง ชุมชนที่เชื่อมต่อและเป็นทางผ่านของ
ชุมชนอื่นๆ ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของยาเสพย์ติด
      8.3 ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ เพราะไม่มีงบประมาณในการสนับสนุนในการบริการด้าน
สุขภาพของผู้สูงอายุ
    9. ในชุมชนมีกลุ่มกิจกรรมอะไรบ้างที่ทางราชการและเอกชนเข้ามาส่งเสริม
      - ด้านสุขภาพ
         มี กิจกรรมอะไรบ้าง เยาวชนรักกีฬา รณรงค์วันงดสูบบุหรี่ ต่อต้านการแพร่
ระบาดของยาเสพย์ติดและลดอุบัติเหตุ รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ป้องกันความดันโลหิต
ไข้เลือดออก มะเร็งปาดมดลูกและมะเร็งเต้านม
        ไม่มี กิจกรรมอะไรบ้าง การออกกำลังกายของผู้สูงอายุและเต้นแอโรบิค
    - ด้านอาชีพ
        มี กิจกรรมอะไรบ้าง อบรมอาชีพเสริม ส่งเสริมการท่องเที่ยว
        ไม่มี กิจกรรมอะไรบ้าง รายได้เสริมของเด็ก กิจกรรมชีวิตพอเพียง กลุ่มแม่บ้าน
และโอท๊อป
    - ด้านการออมทรัพย์
      มี กิจกรรมอะไรบ้าง กลุ่มฌาปณกิจ
      ไม่มี กิจกรรมอะไรบ้าง บัญชีครัวเรือน กองทุนหมู่บ้าน ออมทรัพย์ กองทุน
ประกอบอาชีพ ร้านค้าในชุมชน
    - ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
      มี กิจกรรมอะไรบ้าง มีทุกกิจกรรม
      ไม่มี กิจกรรมอะไรบ้าง -
    - ด้านการแก้ไขปัญหาทางสังคม
      มี กิจกรรมอะไรบ้าง ป้องกันยาเสพย์ติด กิจกรรมเพื่อเยาวชน ป้องกันขโมย
ส่งเสริมสถาบันครอบครัว สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส เลี้ยงดูผู้พิการ กองทุนพัฒนาชุมชน
      ไม่มี กิจกรรมอะไรบ้าง รวมกลุ่มกิจกรรมผู้สูงอายุ ห่วงใยวัย 70 ปี กองทุนผู้สูงอายุ
    - ด้านการจัดการรักษาสิ่งแวดล้อม
      มี กิจกรรมอะไรบ้าง มีทุกกิจกรรม
      ไม่มี กิจกรรมอะไรบ้าง-
    - ด้านการเมืองการปกครอง
      มี กิจกรรมอะไรบ้าง มีทุกกิจกรรม
      ไม่มี กิจกรรมอะไรบ้าง -
    10. ชุมชนมีโครงการในการพัฒนาชุมชนอะไรบ้างและแต่ละโครงการมีกิจกรรมอย่างไร
      10.1 โครงการจัดตั้งธนาคารขยะ
      10.2 ศูนย์ฝึกอาชีพแม่บ้าน
    11. คนดีและเก่งที่เป็นกำลังสำคัญในชุมชน
      -  ด้านการทำอาหาร อดีตประธานชุมชน (จำชื่อไม่ได้)
      - ด้านการช่าง คุณมารุต (ช่างไม้,ช่างตกแต่ง) คุณจันจิรา (ช่างเสริมสวย) กลุ่มเยาวชน
(เขียนป้าย) คุณอำนวย (ช่างซ่อมรถ) ช่างไฟ(คุณสมชาติ)
      - ด้านการเกษตร ลุงถนอม
      - ด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม (ทุกศาสนาที่มีอยู่ในชุมชน) คุณสมาน บิลลา และ อ.
บัญชา
      - ด้านการแพทย์แผนไทย คุณยายอำพร , คุณวิสา ภูสางาม
      - ด้านการประดิษฐ์ กลุ่มเยาวชน
      - ด้านอื่น ๆ
    12. ในชุมชนมีจุดอ่อนจุดแข็งอะไรบ้าง
      จุดแข็ง การยึดมั่นในหลักศาสนา ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเป็นแบบใกล้ชิดสนิท
สนมกัน คณะกรรมการชุมชนมีอุดมการณ์ในการทำงานเพื่อชุมชน ทำงานเป็นระบบและซื่อสัตย์ จริงใจ
      จุดอ่อน ที่ตั้งของชุมชนอยู่ใกล้แหล่งล่อแหลมสู่อบายมุขต่างๆ อีกทั้งคนในชุมชนมีรายได้
น้อย
    13. รายชื่อคณะกรรมการหมู่บ้าน
      1. นายสมชาย โฉมมณี ประธาน
      2. นิมา หะยีอาห์ เลขานุการ
      3. มารุต พลาอาด รองประธาน
      4. นางวิไลลักษณ์ วงศ์อุไร เหรัญญิก
      5. นายมูฮัมหมัด มานิ กรรมการ
      6. นายจักรทิพย์ บุญหวัง กรรมการ
      7. นางมณี มามากทรัพย์ กรรมการ
      8. นางสาวอาภาภรณ์ กาญจนจรัสพร ประชาสัมพันธ์
    14. รายชื่อพัฒนาชุมชน (อช.) -
    15. รายชื่ออาสาสาธารณประจำชุมชน (อสส.) นางวิไลลักษณ์ วงศ์อุไร
    16. ในชุมชนมีสิ่งที่ทำให้สมาชิกในชุมชนมีความภาคภูมิใจอะไรบ้างเพราะอะไร
เป็นชุมชนที่มีแต่คนมุสลิม เพราะอยู่ภายใต้กฎระเบียบ ศาสนา วิถีชีวิตคล้ายคลึงกัน ทำให้
ดูแลพูดคุย และอยู่ร่วมกันได้ง่าย อีกอย่างคือชุมชนมีความสะอาด
    17. ชุมชนมีความต้องการหรือความคาดหวังในการพัฒนาชุมชนอย่างไรบ้าง
อยากให้ลูกหลานไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพย์ติด และประคับประคองชุมชนโดยการสานต่อนโยบายการ
บริหารงานและรักษากฎการอยู่ร่วมกันของชุมชน สุดท้ายคืออยากให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น 

 

3. ข้อมูลแบบสอบถามของชุมชน
3.1. ส่วนที่ 1 ข้อมูลด้านประชากรของสมาชิกใน
ครัวเรือน
3.1.1 ข้อมูลสมาชิกในครัวเรือนของชุมชน
ประกอบด้วย ข้อมูลรวมของสมาชิกในครัวเรือน
ข้อมูลสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นเพศชาย และ
ข้อมูลสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นเพศหญิง
ตารางที่ 1 แสดงร้อยละของสมาชิกในครัวเรือน

ครัวเรือนส่วนใหญ่ในชุมชนนี้มีสมาชิกประมาณ
4-5 คนต่อครัวเรือน
3.1.2 ข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกในครัวเรือน
ทั้งหมด
ตารางที่ 2 ร้อยละของเพศชายและเพศหญิง

ประชากรประกอบด้วยเพศชาย ร้อยละ 39.0 เพศ
หญิงร้อยละ 36.1
ตาราง 3 ร้อยละของอายุประชากรในชุมชน

ชุมชนดารีซีน ประชากรส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง
11-20 ปี
ตาราง 4 ระดับการศึกษา

ชุมชนดารีซีน ประชากรส่วนใหญ่มีการศึกษาใน
ระดับประถมศึกษา
ตาราง 5 การนับถือศาสนา

ชุมชนดารีซีน ประชากรทั้งหมดนับถือศาสนา
อิสลาม
ตาราง 6 รายได้ของคนในชุมชน

ชุมชนดารีซีน ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้อยู่
ในช่วง 0-5000 บาท
ตาราง 7 รายจ่ายของคนในชุมชน

ชุมชนดารีซีน ประชากรส่วนใหญ่มีรายจ่ายอยู่
ในช่วง 0-5000 บาท
ตาราง 8 อาชีพหลัก ของคนในชุมชน

ชุมชนดารีซีน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
หลักคือ รับจ้าง
ตาราง 9 อาชีพเสริม ของคนในชุมชน

คนในชุมชนดารีซีน ส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพเสริม
ตาราง 10 โรคประจำตัวของคนในชุมชน

โรคประจำตัว ของคนในชุมชนดารีซีน ได้แก่
เบาหวานและภูมิแพ้
3.1.3 สถานะภาพครอบครัวในชุมชน
(ตารางที่ 11)

คนในชุมชนอยู่ด้วยกันประมาณ ร้อยละ 79.6
3.1.4 ข้อมูลความขัดแย้งหรือการทะเลาะกันใน
ครัวเรือน (ตารางที่ 12)

คนในชุมชนร้อยละ 67.3 ไม่ทะเลาะกัน
3.1.5 จำนวนข้อมูลผู้ว่างงานในครัวเรือน
(ตารางที่ 13)

ในครัวเรือนในชุมชนส่วนใหญ่มีคนว่างงาน
ประมาณ 1 คน
3.1.6 ข้อมูลจำนวนผู้พิการในครัวเรือน
(ตารางที่ 14)

มีอยู่ประมาณ 2 ครัวเรือนที่มีผู้พิการคิดเป็นร้อย
ละ 4.1ของครัวเรือนทั้งหมด
3.1.7 ข้อมูลจำนวนผู้ติดสุราในครัวเรือน
(ตารางที่ 15)

ไม่มีผู้ติดสุรา
3.1.8 ข้อมูลจำนวนผู้ติดบุหรี่ในครัวเรือน
(ตารางที่ 16)

มีผู้ติดบุหรี่อย่างน้อย 1 คนคิดเป็นร้อยละ 38.8
ของครัวเรือนทั้งหมด
3.1.9 ข้อมูลการเล่นการพนันในครัวเรือน
ประกอบด้วย การเล่นการพนันของสมาชิกใน
ครัวเรือน และข้อมูลจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่
เล่นการพนัน
ข้อมูลการเล่นพนันของสมาชิกในครัวเรือน
(ตารางที่ 17)

ร้อยละ 4.1 ของครัวเรือนทั้งหมด เล่นการพนัน
ข้อมูลจำนวนสมาชิกที่เล่นการพนันในครัวเรือน
(ตารางที่ 18)

มีผู้เล่นการพนัน 1 คน 2 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ
4.1 ของครัวเรือนทั้งหมด
3.1.10ข้อมูลการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของ
สมาชิกในครัวเรือน ประกอบด้วย ข้อมูลการซื้อ
สลากกินแบ่งรัฐบาลของสมาชิกในครัวเรือน
ข้อมูลจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ซื้อสลากกิน
แบ่งรัฐบาล และข้อมูลรายจ่ายในการซื้อสลากกิน
แบ่งรัฐบาล
ข้อมูลการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของสมาชิกใน
ครัวเรือน (ตารางที่ 19)

ร้อยละ 26.5 ของครัวเรือนทั้งหมดซื้อสลากกิน
แบ่งรัฐบาล
ข้อมูลจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ซื้อสลากกิน
แบ่งรัฐบาล (ตารางที่ 20)

ร้อยละ 20.4 ของครัวเรือนทั้งหมดซื้อสลากกิน
แบ่งรัฐบาล ส่วนใหญ่จะซื้อประมาณ 1 คนใน
ครอบครัว
ข้อมูลรายจ่ายในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล
(ตารางที่ 21)

ส่วนใหญ่ใช้เงินซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเดือนละ
100 บาท
3.1.11 ข้อมูลระดับความสำคัญในการใช้จ่ายของ
ครัวเรือน ประกอบด้วย ค่าอาหาร ค่าเช่าบ้านหรือ
ผ่านบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าการศึกษา
บุตร ค่าเดินทาง ค่าเครื่องใช้ในครัวเรือน ค่า
เครื่องใช้ส่วนตัว และค่ารักษาพยาบาล
ข้อมูลระดับความสำคัญในการใช้จ่ายเกี่ยวกับ
ค่าอาหารของครัวเรือน (ตารางที่ 22)

ค่าใช้จ่ายด้านอาหารเป็นค่าใช้จ่ายที่มีความสำคัญ
อันดับ 1
ข้อมูลระดับความสำคัญในการใช้จ่ายเกี่ยวกับค่า
เช่าบ้านหรือค่าผ่อนบ้านของครัวเรือน
(ตารางที่ 23)

ค่าเช่าบ้านหรือค่าผ่อนบ้านเป็นค่าใช้จ่ายที่มี
ความสำคัญอันดับ 8
ข้อมูลระดับความสำคัญในการใช้จ่ายเกี่ยวกับค่า
น้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ของครัวเรือน
(ตารางที่ 24)

ค่าสาธารณูปโภคเป็นค่าใช้จ่ายที่มีความสำคัญ
อันดับ 3และ4
ข้อมูลระดับความสำคัญในการใช้จ่ายเกี่ยวกับค่า
การศึกษาของบุตร (ตารางที่ 25)

ค่าเล่าเรียนบุตรเป็นค่าใช้จ่ายที่มีความสำคัญ
อันดับ 1
ข้อมูลระดับความสำคัญในการใช้จ่ายเกี่ยวกับค่า
เดินทาง (ตารางที่ 26)

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นค่าใช้จ่ายที่ให้
ความสำคัญอันดับ 5
ข้อมูลระดับความสำคัญในการใช้จ่ายเกี่ยวกับค่า
ของใช้ในครัวเรือน (เช่น สบู่ แชมพู ผงซักฟอก
เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ) (ตารางที่ 27)

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสบู่ แชมพู ผงซักฟอก
เครื่องใช้ไฟฟ้า มีความสำคัญอันดับ 4
ข้อมูลระดับความสำคัญในการใช้จ่ายเกี่ยวกับค่า
เครื่องใช้ส่วนตัว (เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า
ฯลฯ)(ตารางที่ 28)

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเครื่องใช้ส่วนตัวให้
ความสำคัญอันดับ 7
ข้อมูลระดับความสำคัญในการใช้จ่ายเกี่ยวกับค่า
รักษาพยาบาล (ตารางที่ 29)

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลให้ความสำคัญ
อันดับ 8
3.1.12ข้อมูลการออมเงินในครัวเรือน
ประกอบด้วย ข้อมูลการออมเงิน และข้อมูล
จำนวนเงินออม
ข้อมูลการออมเงินในครัวเรือน (ตารางที่ 30)

มีการออมเงินร้อยละ 22.4 ของครัวเรือนทั้งหมด
ข้อมูลจำนวนเงินออมในครัวเรือน (ตารางที่ 34)

ร้อยละ6.1 ของครัวเรือนมีเงินออม 10000 บาทต่อ
ครัวเรือน

3.1.13ข้อมูลการมีหนี้สินในครัวเรือน
ประกอบด้วย ข้อมูลการมีหนี้สิน และข้อมูล
จำนวนหนี้สิน
ข้อมูลการมีหนี้สินในครัวเรือน (ตารางที่ 32)

ร้อยละ 59.2 ของครัวเรือนมีหนี้สิน
ข้อมูลจำนวนหนี้สินในครัวเรือน (ตารางที่ 36)

ร้อยละ 32.0 ของครัวเรือนไม่มีหนี้สิน
3.1.14ข้อมูลการทำรายรับ – รายจ่าย
(ตารางที่ 34)

ร้อยละ 77.6 ไม่มีครอบครัวใดที่ทำบัญชีรายรับ-
รายจ่าย
3.2. ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย
3.2.1 ภูมิลำเนาเดิม
3.2.2 ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน (ตารางที่ 35)

อาศัยอยู่ในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ประมาณ
6-10 ปี
3.2.3 การครอบครองที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย
ข้อมูลการครอบครองที่อยู่อาศัย และข้อมูลด้าน
จำนวนพื้นที่อยู่อาศัยการครอบครองที่อยู่อาศัย
(ตารางที่ 36)

ส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าร้อยละ 83.7
จำนวนพื้นที่อยู่อาศัย (ตารางที่ 37)

ชุมชนส่วนใหญ่มีพื้นที่อาศัยอยู่ประมาณ 25 ตรว.
3.2.4 ลักษณะของที่อยู่อาศัย (ตารางที่ 41)

ส่วนใหญ่อาศัยแบบบ้านเดี่ยวชั้นเดียวร้อยละ 51.0
3.2.5 บริเวณที่อยู่อาศัยของท่านมีความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สินหรือไม่ (ตารางที่ 39)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.5 เห็นว่ามีความปลอดภัยใน
ระดับปานกลาง
3.2.6 ครัวเรือนของท่านถูกรบกวนจากภาวะ
ต่าง ๆ หรือไม่
ถูกรบกวนจากขยะ (ตารางที่ 40)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.1 เห็นว่าถูกรบกวนจากขยะ
ในระดับปานกลาง
ถูกรบกวนจากน้ำเน่าเสีย (ตารางที่ 44)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.7 เห็นว่าถูกรบกวนจากน้ำ
เสียในระดับปานกลาง
ถูกรบกวนจากน้ำท่วม (ตารางที่ 42)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.2 เห็นว่าไม่ถูกรบกวนจากน้ำ
ท่วม
ถูกรบกวนจากเสียงดัง (ตารางที่ 43)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 38.8 เห็นว่าถูกรบกวนจากเสียง
ดังในระดับปานกลาง
ถูกรบกวนจากการจราจรติดขัด (ตารางที่ 44)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 83.7 เห็นว่าไม่ถูกรบกวนจาก
จราจรติดขัด
ถูกรบกวนจากฝุ่นควันและก๊าซพิษ (ตารางที่ 45)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.9 ไม่มีปัญหาจาก
จากฝุ่นควันและก๊าซพิษ
ถูกรบกวนจากด้านอื่น ๆ (ตารางที่ 46)

ส่วนใหญ่ ไม่ระบุว่าถูกรบกวนจากสิ่งอื่นๆ
3.2.7 ในรอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนของท่านได้รับ
การช่วยเหลือหรือการสนับสนุน ด้านใดบ้างและ
จากหน่วยงานใด (เช่น) ค่าเล่าเรียนบุตร การ
ส่งเสริมอาชีพ การพ่นหมอกควันกำจัดยุง
(ตารางที่ 47)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 89.9 ได้รับความช่วยเหลือจาก
หน่วยงานต่างๆ
3.3 ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านการเป็นสมาชิกกลุ่มหรือ
การร่วมทำกิจกรรมที่ได้รับการส่งเสริม
3.3.1 ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพ
กิจกรรมออกกำลังกายผู้สูงอายุ (ตารางที่ 48)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 ไม่มีกิจกรรมสุขภาพ
เยาวชนรักกีฬา (ตารางที่ 49)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.1 เข้าร่วมกิจกรรมเยาวชนรัก
กีฬา
เต้นแอโรบิค (ตารางที่ 50)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 83.7 ไม่มีกิจกรรมเต้นแอโรบิค
งดสูบบุหรี่ (ตารางที่ 51)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.9 เข้าร่วมกิจกรรมงดสูบ
บุหรี่
ต่อต้านยาเสพติด (ตารางที่ 52)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 เข้าร่วมกิจกรรมต่อต้าน
ยาเสพติด
ป้องกันอุบัติเหตุ (ตารางที่ 53)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.1 ระบุว่าไม่มีกิจกรรม
ป้องกันอุบัติเหตุ
ควบคุมเบาหวาน (ตารางที่ 54)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 เข้าร่วมกิจกรรมควบคุม
เบาหวาน
ควบคุมความดันโลหิต (ตารางที่ 55)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.5 เข้าร่วมกิจกรรมควบคุม
ความดันโลหิต
ควบคุมไข้เลือดออก (ตารางที่ 56)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.6 ระบุการเข้าร่วมกิจกรรม
ควบคุมไข้เลือดออก
ตรวจมะเร็งปากมดลูก (ตารางที่ 57)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.4 ระบุการไม่มีกิจกรรมตรวจ
มะเร็งปากมดลูก
ตรวจมะเร็งเต้านม (ตารางที่ 58)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.4 ระบุไม่มีกิจกรรมควบคุม
มะเร็งเต้านม
3.3.2 ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมด้านอาชีพ
ฝึกอาชีพเสริม (ตารางที่ 59)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.5 ระบุไม่มีกิจกรรมฝึกอาชีพ
เสริม
ส่งเสริมการท่องเที่ยว (ตารางที่ 60)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.6 ระบุไม่มีกิจกรรมส่งเสริม
การท่องเที่ยว
ส่งเสริมรายได้เด็ก (ตารางที่ 61)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.3 ไม่มีกิจกรรมเสริมรายได้
เด็ก
กิจกรรมชีวิตพอเพียง (ตารางที่ 62)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.2 ไม่มีกิจกรรมชีวิตพอเพียงกลุ่มแม่บ้าน (ตารางที่ 63)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.6 ไม่มีกิจกรรมกลุ่มแม่บ้าน
OTOP (ตารางที่ 64)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.5 ไม่มีกิจกรรมOTOP
3.3.3 ข้อมูลด้านการออมทรัพย์
การทำบัญชีครัวเรือน (ตารางที่ 65)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.1 ตอบว่าไม่ระบุการทำบัญชี
ครัวเรือน
22
กองทุนหมู่บ้าน (ตารางที่ 66)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.2 ไม่มีกิจกรรมกองทุน
หมู่บ้าน
กลุ่มณาปนกิจ (ตารางที่ 67)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.0 เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
ฌาปนกิจ
กลุ่มออมทรัพย์ (ตารางที่ 68)

ร้อยละ 100.0 ไม่มีกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์
กองทุนอาชีพ (ตารางที่ 69)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.6 ไม่มีกิจกรรมกองทุน
อาชีพ
ร้านค้าชุมชน (ตารางที่ 70)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.6 ไม่มีกิจกรรมร้านค้าชุมชน
ออมทรัพย์อื่นๆ (ตารางที่ 71)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.3 ตอบว่าไม่มีกิจกรรมออม
ทรัพย์อื่นๆในชุมชน
3.3.4 ข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
อนุรักษ์ศิลปะ (ตารางที่ 72)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 38.8 ไม่มีกิจกรรมกลุ่มอนุรักษ์
ศิลปะ
การทำบุญตักบาตร (ตารางที่ 73)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.8 ไม่มีกิจกรรมทำบุญตัก
บาตร
วันปีใหม่สงกรานต์ (ตารางที่ 74)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 89.8 ระบุการไม่มีกิจกรรมปี
ใหม่สงกรานต์
การส่งเสริมศิลปะ (ตารางที่ 75)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 42.9 ระบุการเข้าร่วมกิจกรรม
ส่งเสริมศิลปะศาสนพิธี (ตารางที่ 76)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.6 เข้าร่วมกิจกรรมศาสนพิธี
พิธีอื่นๆ (ตารางที่ 77)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 98ไม่ตอบว่าเข้าร่วมพิธีอื่น
3.3.5 ข้อมูลด้านการแก้ไขปัญหาทางสังคม
ป้องกันยาเสพติด (ตารางที่ 78)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.6 เข้าร่วมกิจกรรมป้องกัน
ยาเสพติด
กลุ่มผู้สูงอายุ (ตารางที่ 79)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.0 เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
ผู้สูงอายุ
กิจกรรมเยาวชน (ตารางที่ 80)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.6 เข้าร่วมกิจกรรมเยาวชน
ป้องกันขโมย (ตารางที่ 81)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.2 เข้าร่วมกิจกรรมป้องกัน
ขโมย
กิจกรรมห่วงใยวัย70 (ตารางที่ 82)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.5 ไม่มีกิจกรรมห่วงใยวัย70ส่งเสริมสถาบันครอบครัว (ตารางที่ 83)

ส่วนใหญ่ร้อยละ67.3 ไม่มีกิจกรรมส่งเสริม
สถาบันครอบครัว
กิจกรรมสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส(ตารางที่ 84)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.9 เข้าร่วมกิจกรรม
สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส/ผู้พิการ
กองทุนพัฒนาชุมชน (ตารางที่ 85)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.0 เข้าร่วมกิจกรรมกองทุน
พัฒนาชุมชน
กองทุนผู้สูงอายุ (ตารางที่ 86)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.1 ไม่มีกิจกรรมกองทุน
ผู้สูงอายุ
3.3.6 ข้อมูลด้านการจัดการรักษาสิ่งแวดล้อม
ระวังคุณภาพน้ำ (ตารางที่ 87)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.6 ไม่มีกิจกรรมระวังคุณภาพ
น้ำ
ชุมชนน่าอยู่ (ตารางที่ 88)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.5 เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนน่า
อยู่
เก็บขยะในชุมชน (ตารางที่ 89)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.8 เข้าร่วมกิจกรรมเก็บขยะใน
ชุมชน
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ตารางที่ 90)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.1 ไม่มีกิจกรรมอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม
ขุดลอกคูคลอง (ตารางที่ 91)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.6 เข้าร่วมกิจกรรมขุดลอกคู
คลอง
ปลูกต้นไม้ (ตารางที่ 92)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.0 ไม่มีกิจกรรมปลูกต้นไม้
ซ่อมแซมสาธารณูปโภค (ตารางที่ 93)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.5 เข้าร่วมกิจกรรมซ่อมแซม
สาธารณูปโภค
ทำความสะอาด (ตารางที่ 94)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.3 เข้าร่วมกิจกรรมทำความ
สะอาด
ทิ้งขยะในถัง (ตารางที่ 95)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 เข้าร่วมกิจกรรมทิ้งขยะใน
ถัง
อนุรักษ์อื่นๆ (ตารางที่ 96)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.6 ไม่ระบุการเข้าร่วม
กิจกรรมอนุรักษ์อื่นๆ
3.3.7 ข้อมูลด้านการเมืองการปกครอง
รณรงค์เลือกตั้ง (ตารางที่ 97)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.8 เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์
การเลือกตั้ง
อบรมความรู้การเมือง (ตารางที่ 98)

ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.4 ไม่มีกิจกรรมอบรมความรู้
การเมือง

 

สรุปข้อมูลจากการสำรวจโดยแบบสอบถามระหว่างวันที่ …..................
      สำรวจโดยใช้แบบสอบถามจากครัวเรือนทั้งหมด 49 ครัวเรือนคิดเป็น 60 เปอร์เซนต์ของครัวเรือน
ทั้งหมดในชุมชน ครัวเรือนส่วนใหญ่ในชุมชนนี้มีสมาชิกประมาณ 4-5 คนต่อครัวเรือนประชากร
ประกอบด้วยเพศชาย ร้อยละ 39.0 เพศหญิงร้อยละ 36.1มีอายุอยู่ในช่วง 11-20 ปี มีการศึกษาในระดับ
ประถมศึกษานับถือศาสนาอิสลามมีรายได้อยู่ในช่วง 0-5000 บาทมีรายจ่ายอยู่ในช่วง 0-5000 บาท
ประกอบอาชีพหลักคือ รับจ้างส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพเสริมโรคประจำตัว ของคนในชุมชนดารีซีน ได้แก่
เบาหวานและภูมิแพ้คนในชุมชนอยู่ด้วยกันประมาณ ร้อยละ 79.6คนในชุมชนร้อยละ 67.3 ไม่ทะเลาะกัน
ในครัวเรือนในชุมชนส่วนใหญ่มีคนว่างงาน ประมาณ 1 คนมีอยู่ประมาณ 2 ครัวเรือนที่มีผู้พิการคิดเป็นร้อย
ละ 4.1ของครัวเรือนทั้งหมดไม่มีผู้ติดสุรา มีผู้ติดบุหรี่อย่างน้อย 1 คนคิดเป็นร้อยละ 38.8 ของครัวเรือน
ทั้งหมดร้อยละ 4.1 ของครัวเรือนทั้งหมด เล่นการพนันมีผู้เล่นการพนัน 1 คน 2 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ
4.1 ของครัวเรือนทั้งหมดร้อยละ 26.5 ของครัวเรือนทั้งหมดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลร้อยละ 20.4 ของ
ครัวเรือนทั้งหมดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ส่วนใหญ่จะซื่อประมาณ 1 คนในครอบครัวส่วนใหญ่ใช้เงินซื้อ
สลากกินแบ่งรัฐบาลเดือนละ 100 บาทค่าใช้จ่ายด้านอาหารเป็นค่าใช้จ่ายที่มีความสำคัญอันดับ 1 ค่าเล่าเรียน
บุตรเป็นค่าใช้จ่ายที่มีความสำคัญอันดับ 1 ค่าสาธารณูปโภคเป็นค่าใช้จ่ายที่มีความสำคัญอันดับ 3และ4
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสบู่ แชมพู ผงซักฟอก เครื่องใช้ไฟฟ้า มีความสำคัญอันดับ 4 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็น
ค่าใช้จ่ายที่ให้ความสำคัญอันดับ 5 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเครื่องใช้ส่วนตัวให้ความสำคัญอันดับ 7 ค่าเช่าบ้าน
หรือค่าผ่อนบ้านเป็นค่าใช้จ่ายที่มีความสำคัญอันดับ 8 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลให้ความสำคัญ
อันดับ 8 มีการออมเงินร้อยละ 22.4 ของครัวเรือนทั้งหมดร้อยละ6.1 ของครัวเรือนมีเงินออม 10000 บาทต่อ
ครัวเรือนร้อยละ 59.2 ของครัวเรือนมีหนี้สินร้อยละ 32.0 ของครัวเรือนไม่มีหนี้สินร้อยละ 77.6 ไม่มี
ครอบครัวใดที่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

      ในด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมของครัวเรือน คนในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ประมาณ 6-10 ปี
ผู้เช่าร้อยละ 83.7มีพื้นที่อาศัยอยู่ประมาณ 25 ตรว.อาศัยแบบบ้านเดี่ยวชั้นเดียวร้อยละ 51.0ร้อยละ 73.5 เห็น
ว่ามีความปลอดภัยในระดับปานกลางร้อยละ 53.1 เห็นว่าถูกรบกวนจากขยะในระดับปานกลางร้อยละ 36.7
เห็นว่าถูกรบกวนจากน้ำเสียในระดับปานกลางร้อยละ 61.2 เห็นว่าไม่ถูกรบกวนจากน้ำท่วมร้อยละ 38.8 เห็น
ว่าถูกรบกวนจากเสียงดังในระดับปานกลางร้อยละ 83.7 เห็นว่าไม่ถูกรบกวนจากจราจรติดขัดร้อยละ 46.9
ไม่มีปัญหาไม่ระบุว่าถูกรบกวนจากสิ่งอื่นๆ ร้อยละ 89.9 ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ

      ในด้านการเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 85.7 ไม่มีกิจกรรมสุขภาพร้อยละ 57.1 เข้าร่วมกิจกรรมเยาวชน
รักกีฬาร้อยละ 83.7 ไม่มีกิจกรรมเต้นแอโรบิคร้อยละ 46.9 เข้าร่วมกิจกรรมงดสูบบุหรี่ร้อยละ 85.7 เข้าร่วม
กิจกรรมต่อต้านยาเสพติดร้อยละ 57.1 ระบุการไม่มีกิจกรรมป้องกันอุบัติเหตุร้อยละ 63.3 เข้าร่วมกิจกรรม
ควบคุมเบาหวานร้อยละ 73.5 เข้าร่วมกิจกรรมควบคุมความดันโลหิตร้อยละ 77.6 ระบุการเข้าร่วมกิจกรรม
ควบคุมไข้เลือดออกร้อยละ 69.4ระบุการ ไม่มีกิจกรรมตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 69.4 ระบุไม่มีกิจกรรม
ควบคุมมะเร็งเต้านมร้อยละ 73.5 ระบุไม่มีกิจกรรมฝึกอาชีพเสริมร้อยละ 81.6 ระบุไม่มีกิจกรรมส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวร้อยละ 67.3 ไม่มีกิจกรรมเสริมรายเด็กร้อยละ 59.2 ไม่มีกิจกรรมชีวิตพอเพียงร้อยละ 77.6 ไม่มี
กิจกรรมกลุ่มแม่บ้านร้อยละ 75.5 ไม่มีกิจกรรมOTOPร้อยละ 55.1 ตอบว่าไม่ระบุการทำบัญชีครัวเรือนร้อย
ละ 59.2 ไม่มีกิจกรรมกองทุนหมู่บ้านร้อยละ 51.0 เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มฌาปนกิจ ร้อยละ 100.0 ไม่มี
กิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ร้อยละ 79.6 ไม่มีกิจกรรมกองทุนอาชีพร้อยละ 77.6 ไม่มีกิจกรรมร้านค้าชุมชนร้อย
ละ 67.3 ตอบว่าไม่มีกิจกรรมออมทรัพย์อื่นๆในชุมชนร้อยละ 38.8 ไม่มีกิจกรรมกลุ่มอนุรักษ์ศิลปะร้อยละ
91.8 ไม่มีกิจกรรมทำบุญตักบาตรร้อยละ 89.8 ระบุการไม่มีกิจกรรมปีใหม่สงกรานต์ร้อยละ 42.9 ระบุการ
เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมศิลปะร้อยละ 77.6 เข้าร่วมกิจกรรมศาสนพิธีร้อยละ 54.7 ไม่ตอบว่าเข้าร่วมพิธีอื่น
ร้อยละ 81.6 เข้าร่วมกิจกรรมป้องกันยาเสพติดร้อยละ 49.0 เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มผู้สูงอายุร้อยละ 81.6 เข้า
ร่วมกิจกรรมเยาวชนร้อยละ 59.2 เข้าร่วมกิจกรรมป้องกันขโมยร้อยละ 75.5 ไม่มีกิจกรรมห่วงใยวัย70ร้อย
ละ67.3 ไม่มีกิจกรรมส่งเสริมสถาบันครอบครัวร้อยละ 44.9 เข้าร่วมกิจกรรมสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส/ผู้
พิการร้อยละ 49.0 เข้าร่วมกิจกรรมกองทุนพัฒนาชุมชนร้อยละ 57.1 ไม่มีกิจกรรมกองทุนผู้สูงอายุร้อยละ
81.6 ไม่มีกิจกรรมระวังคุณภาพน้ำร้อยละ 73.5 เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนน่าอยู่ร้อยละ 91.8 เข้าร่วมกิจกรรม
เก็บขยะในชุมชนร้อยละ 53.1 ไม่มีกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร้อยละ 81.6 เข้าร่วมกิจกรรมขุดลอกคูคลอง
ร้อยละ 51.0 ไม่มีกิจกรรมปลูกต้นไม้ร้อยละ 73.5 เข้าร่วมกิจกรรมซ่อมแซมสาธารณูปโภคร้อยละ 65.3 เข้า
ร่วมกิจกรรมทำความสะอาดร้อยละ 85.7 เข้าร่วมกิจกรรมทิ้งขยะในถังร้อยละ 77.6 ไม่ระบุการเข้าร่วม
กิจกรรมอนุรักษ์อื่นๆร้อยละ 91.8 เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้งร้อยละ 69.4 ไม่มีกิจกรรมอบรม
ความรู้การเมือง