ประวัติความเป็นมาของชุมชน/ชุมชน
โดยคนทั่วไปจะเรียกขานกันว่า ชุมชนบางมด ที่กระจายอยู่ทั่วไปตามผืนนาอันกว้างใหญ่ของทุ่งครุในอดีต ชุมชนแห่งนี้มีผู้เข้ามา
ตั้งบ้านเรือน อาศัยเป็นเวลานานแล้ว แต่ในอดีตนั้นมีจำนวนบ้านเรือนที่ปลูกสร้างในบริเวณแห่งนี้ไม่มากนัก ต่อมาเมื่อปี 2536 เริ่มมี
การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ใช้คนดั้งเดิมที่อพยพมาจากต่างถิ่นโดยอาศัยที่ดินของ
อาจารย์ชดเชย ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ หลังจากนั้นก็แบ่งขายให้กับประชาชนที่จะเข้ามาอาศัย ในสมัยนั้นมีการสร้างบ้านเรือนเพียง 30 หลังคา
สภาพพื้นที่ในสมัยก่อนนั้นเป็นที่รกร้าง มีการปลูกส้มเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นก็เปลี่ยนมาปลูกกล้วยไม้ เดินทางเข้าออกชุมชนโดยอาศัยเรือแจวไปตามคลอง ลำประโดน เมื่อ 2543 น้ำในคลองยังใสสะอาดอยู่ แต่เมื่อมีการสร้างถนนเข้าในชุมชน น้ำไม่มีทางระบายทำให้เกิดน้ำเสียขึ้น
การก่อตั้งชุมชนที่เป็นทางการ ปี พ.ศ. 2536 หรือประมาณ 21 ปี มาแล้ว กลุ่มคนกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ คือ กลุ่มคนดั้งเดิม
ที่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าอพยพมาอยู่เมื่อไหร่ และกลุ่มคนที่อพยพมาจากตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน
วัฒนธรรม/ประเพณี/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอดีต-ปัจจุบันมี
ประชาชนในชุมนเป็นชาวไทยพุทธ วัฒนธรรมจึงเป็นสากลโดยทั่วไปของประเทศไทย โดยการสืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีต ก็ได้แก่
่ประเพณีวันสงกรานต์ การไปทำบุญที่วัด การรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสของชุมชน ประเพณีวันปีใหม ประเพณีวันลอยกระทง และวัน
สำคัญ
ทางศาสนาที่คงสืบสานสืบทอดและปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน
โครงสร้างพื้นฐานชุมชน เริ่มเข้าไปพัฒนาเมื่อปี พ.ศ.2536
ในปี 2536 มีการพัฒนาทางด้านสาธรณูประโภค คือ มีไฟฟ้า และน้ำประปา
ในปี 2548 มีการสร้างถนนคอนกรีตภายในชุมชน
|