ซอยประชาอุทิศ 37 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

1. ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน

1.1 ประวัติและความเป็นมาของชุมชนชุมชนมติมิตร

ชุมชนมติมิตร เป็นชุมชนใหม่ จัดตั้งเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

มีจำนวน 92 ครัวเรือน

คนในชุมชนประกอบอาชีพรับจ้างโรงงานอุตสาหกรรม รับจ้างตัดด้ายเสื้อผ้า

และค้าขาย พื้นที่ชุมชน 16 ไร่ ภายในชุมชนมีถนนราดยางจากหน้าชุมชน

ถึงประมาณที่จอดรถรวมของชุมชนมีความยาวประมาณ 50 เมตร

ถนนผ่านแต่ละบ้านเป็นเถนนเดินเท้ารถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงบ้านได้

ชุมชนจึงจัดที่จอดรถสาธารณะของชุมชนเพื่อให้บ้านที่มีรถยนต์สามารถนำร

ถมาจอดได้

และยังมีการส่งเสริมให้แต่ละบ้านปลูกพื้นผักสวนครัวไว้บริเวณบ้านของตนเอ

งเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ด้วยการให้แต่ละบ้านคัดแยกขยะไว้ขาย

ก่อนที่จะนำขยะไปไว้ที่ถังขยะของเขตที่จัดเตรียมไว้เพื่อรองรับขยะจากชุมช

น มีกลุ่ม อสส. ให้การดูแลและผู้นำกิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม

และการจัดงานต่างๆ โดยแต่ละบ้านก็จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก อสส.

เพื่อทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ เช่น การดูและด้านสุขภาพอนามัย

การลอกคูคลอง และการจัดงานประเพณีต่างๆ

ก็จะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของชุมชนให้ทราบ

และเดินบอกตามบ้านของผู้นำชุมชนที่มีความใกล้ชิดกับลูกบ้าน

1.2 โครงสร้างพื้นฐานชุมชน

- ไฟฟ้า ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ และมีการติดแสงสว่างทางเดินทั่วถึง

- น้ำปะปา ทุกครัวเรือนมีน้ำปะปาใช้

- วิทยุชุมชน : ชุมชนมีวิทยุชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์ข่าว รณรงค์

และเชิญชวนร่วมกิจกรรมชุมชน

1.3 สภาพปัจจุบัน ประชากรทั้งหมด 473 คน ชาย 228 คน หญิง 245 คน

ชุมชนมีครัวเรือน 100 ครอบครัว มีบ้าน 92 หลัง

ข้อมูลจากสำนักงานเขตทุ่งครุ

ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างโรงงานอุตสาหกรรม และรับจ้าง

(ตัดด้ายเสื้อผ้ารับงานมาทำที่บ้าน)

1.4 วัฒนธรรม/ประเพณี/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในดีต-ปัจจุบัน

วัฒนธรรมในชุมชนไม่พบ เพราะเป็นชุมชนใหม่ เกิดขึ้นประมาณ 6-

7 ปี (พ.ศ.2551-2557) คนเก่าแก่มีจำนวนน้อย แต่มีการร่วมประเพณี

เช่น ประเพณีลอยกระทง รณรงค์ให้ใช้กระทงธรรมชาติ

ในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ (วันเข้าพรรษษ วันออกพรรษา วันมาฆบูชา

ฯลฯ) ก็มีการไปร่วมทำบุญวัดใกล้ชุมชน เช่น วัดบางมด โสธราราม

วัดกลางนา วัดพุทธบูชา ทำข้าวต้มมัด ขนมดอกโสน ขนมกล้วย

กล้วยบวชชี เป็นต้น ไม่มีวัฒนธรรมเฉพาะชุมชน

1.5 ปัญหาสำคัญในชุมชน ดังนี้

1. ถนนทางเท้าภายในชุมชนที่อาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้เส้นทาง

1.6 การทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกชน

1. สำนักงานเขตทุ่งครุ

- มีการจัดตั้งกลุ่ม อปพร.

เพื่อดูแลด้านความปลอกภัยแก่ประชาชนในชุมชนของตน

- โครงการกองทุนแผ่นดินแม่ เป็นกิจกรรมที่ดูแลกิจกรรมด้านยาเสพย์ติด

และเป็นกองทุนกู้ยืมไร้ดอกเบี้ยให้กลับสมาชิกในชุมชนเพื่อลดการเป็น

หนี้นอกระบบ

2. อนามัยเขตทุ่งครุ

- ร่วมเป็นสมาชิก อสส. เพื่อดูแลด้านสุขภาพ

และสิ่งแวดล้อมในชุมชนไม่ให้เป็นแหล่งก่อโรคไข้เลือดออก

และดูแลสุขภาพพื้นฐานพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ

- รณรงค์ให้คนในชุมชนคัดแยกขยะก่อนทิ้ง

เพื่อลดการเกิดขยะในชุมชนและไม่ก่อให้เกิดกลิ่นรบกวนระหว่างรอให้เ

ขตมาเก็บขยะ (วันเว้นวัน)