โครงการจัดตั้งหน่วยจัดการข้อมูลชุมชน
Community Data Management Unit (CDMU)
1. หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรับใช้สังคมไทย โดยมีภารกิจหลักคือ การสอน การวิจัย การบริการวิชาการสู่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย การที่จะประยุกต์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมารับใช้สังคมไทย
ได้นั้น การเรียนการสอนโดยเฉพาะทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จะต้องมีการจัดประสบการณ์การสอนที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสัมผัสและเข้าใจสภาพปัญหาที่แท้จริงของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงในมิติสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและความหลากหลายในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยอาศัยชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้
(Community based learning) ในมิติทางสังคมผ่านกระบวนการเรียนรู้และเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น การวิจัย การทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ฯลฯ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ เช่น การตั้งคำถาม การแสวงหาคำตอบ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีความตื่นตัวในกระบวนการเรียนรู้
สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เล็งเห็นความสำคัญของการใช้ข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้รอบๆ มหาวิทยาลัย ที่จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิจัย การพัฒนาการเรียนการสอน และการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับชุมชน จึงจัดตั้งหน่วยจัดการข้อมูลชุมชน(Community Data Management Unit) ขึ้นมาเพื่อ
รวบรวมข้อมูลความรู้ในทุกมิติ อาทิ มิติทางสังคม มิติทางเศรษฐกิจ มิติทางกฏหมายและการเมือง มิติทาง ด้าน สิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยทำการจัดการความรู้และถอดความรู้จากข้อมูลที่ศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการ
เรียนรู้ของนักศึกษาให้มีความตระหนักรู้ต่อปัญหาสังคม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก เสริมสร้างคุณธรรมและจริย- ธรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในการทำงานในระดับต่างๆ ต่อไปในอนาคต
2. วัตถุประสงค์
1.. เพื่อสร้างฐานข้อมูลชุมชนในเขตทุ่งครุและเขตราษฎร์บูรณะ
2. เพื่อถอดองค์ความรู้จากข้อมูลชุมชน ซึ่งจะนำไปใช้ในการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และการทำวิจัยชุมชน
3. เพื่อจัดเตรียมชุมชน(Community lab) สำหรับการปฏิบัติการทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาโทและนักศึกษาระดับปริญญาตรีในรายวิชาต่างๆ ของสายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์
4 . เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับชุมชนและสังคม ซึ่งจะทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4. กลุ่มเป้าหมาย : 1. นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
2. คนในชุมชนเขตทุ่งครุและเขต ราษฎร์บูรณะ
3. บุคคลผู้สนใจทั่วไป
5. วิธีดำเนินการ
หน่วยจัดการข้อมูลชุมชนดำเนินงานในรูปของคณะทำงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและ แนวทางการทำงานภายใต้กรอบนโยบายของสายวิชาสังคมศาสตร์ฯ และคณะศิลปศาสตร์ โดยมีหัวหน้าหน่วยฯ เป็นผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานภายในหน่วยฯ และมีคณะทำงานประกอบด้วยบุคคลต่อไปนี้
1. ผศ.ดร.สุรพงษ์ ชูเดช ที่ปรึกษาโครงการฯ
2. ผศ.ดร.ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล ประธานคณะทำงาน
3. ผศ.วิภาวี เอี่ยมวรเมธ คณะทำงาน
4. อ.ภาสนันทน์ อัศวรักษ์ คณะทำงาน
5. อ.ศิริพันธ์ นันสุนานนท์ คณะทำงาน
โดยกำหนดแผนการทำงาน CDMU รอบปีงบประมาณ 2556-2557 ไว้ดังนี้
|
งมป. 56 |
งมป. 57 |
รายการ |
สค. |
กย. |
ตค. |
พย. |
ธค. |
มค. |
กพ. |
มีค. |
เมษ. |
พค. |
มิย. |
กค. |
สค. |
กย. |
1. สำรวจชุมชนและทำสารคดีเกี่ยวกับชุมชนรอบๆ มจธ. ทั้งหมด 28 ชุมชนในมิติความเป็นมาของชุมชนฯ
วิถีชีวิต (การศึกษา ความเชื่อ ศาสนา อาชีพ ฯลฯ)
ปัญหาและความต้องการของแต่ละชุมชน |
/ |
/ |
/ |
/ |
/ |
/ |
/ |
/ |
/ |
/ |
/ |
/ |
/ |
/ |
2. จัดกิจกรรมฟื้นฟูภูมิปัญญาชาวบ้านเขตทุ่งครุ อาทิ การ จักสานชลอมด้วยทางมะพร้าว การทำข้าวมธุปายาส |
|
|
|
/ |
|
|
|
|
|
/ |
|
|
|
|
3. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของคนในชุมชนรอบๆ มจธ. |
|
|
|
|
|
|
/ |
|
|
|
|
|
|
/ |
6. ระยะเวลาและสถานที่ ระยะเวลาดำเนินการ 14 เดือน
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2556 ถึง 30 กันยายน 2557
ณ สายวิชาสังคมศาสตร์ฯ คณะศิลปศาสตร์ ชั้น 8 ห้อง 804 / 23-24
7. ตัวชี้วัดผลงาน
1. ได้ฐานข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของแต่ละชุมชน อย่างน้อย 5 ชุมชน
2. จัดทำสารคดีความเป็นมาของชุมชนฯ วิถีชีวิตของแต่ละชุมชน ( อาทิ การศึกษา ความเชื่อ ศาสนา
อาชีพ ฯลฯ) อย่างน้อย 20 ชุมชน
3. จัดกิจกรรมฟื้นฟูภูมิปัญญาชาวบ้านเขตทุ่งครุ อย่างน้อย 2 กิจกรรม
4. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของคนในชุมชนรอบๆ มจธ. อย่างน้อย 2 กิจกรรม
5. มีงานวิจัยเกี่ยวกับชุมชนอย่างน้อย 1 เรื่อง
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีแหล่งการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาและอาจารย์
2. มีฐานข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน การวิจัยชุมชนและการให้บริการกับชุมชน
3. มีเครือข่ายชุมชนสำหรับส่งนักศึกษาลงไปร่วมทำกิจกรรม
4. สามารถสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับชุมชนซึ่งจะทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้/ประสบการณ์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
5. มีงานวิจัยเกี่ยวกับชุมชน